วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตารางธาตู


พยาบาลทหารเรือ


การศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นการศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา ๔ ปี สิทธิที่ได้รับ ระหว่างศึกษามีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดี หรือขาดแคลนทุนทรัพย์ และได้รับเครื่องแบบตามที่กองทัพเรือกำหนด เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) สมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดล
การรับสมัครและสอบคัดเลือกโดยผู้สมัครต้องแสดงหลักฐานการสมัครสอบวิชาหลักของทบวงมหาวิทยาลัยและจะต้องสอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ
คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร ๑. สำเร็จการศึกษาชั้น ม.๖ (แผนการเรียนวิทย์ - คณิต) ๒. เป็นสตรีโสด อายุ ๑๗ - ๒๐ ปี โดยบิดามารดาและผู้สมัคร ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ๓. มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า ๑๕๕ ซม. น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า ๔๒ กก. และไม่เกิน ๖๕ กก.

การเข้ารับการศึกษา
3.1 คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้สมัคร
3.1.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรืออยู่ในระหว่างรอผลการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว โดยต้องศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์ ที่กำหนดดังนี้ หมวดวิชาเลือกเสรี วิทยาศาสตร์ (โครงสร้าง 2) 25 หน่วยกิต หรือวิทยาศาสตร์ (โครงสร้าง 3 ) 21 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ (โครงสร้าง 1) 15 หน่วยกิต และภาษาอังกฤษ 12 หน่วยกิต
3.1.2 เป็นสตรีโสด อายุระหว่าง 16 – 22 ปี (คือผู้เกิดระหว่าง พ.ศ.2524 – 2530)
3.1.3 มีสัญชาติไทย บิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด สำหรับผู้ที่มี ปู่ หรือย่า หรือตา หรือยาย มิใช่สัญชาติไทยจะต้องนำสูติบัตรของบิดามารดา หรือหนังสือรับรองจากที่ว่าการเขต/อำเภอ ซึ่งรับรองว่าบิดามารดาของผู้สมัครเกิดในประเทศไทยจริงมาแสดงด้วย แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวนซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอยู่แล้ว มารดาจะไม่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
3.1.4 มีสุขภาพสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะท่าทางและขนาดของร่างกายเหมาะสมต่อการรับราชการทหารและการประกอบวิชาชีพพยาบาล น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร 3.1.5 มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องทางศีลธรรม
3.1.6 ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาวิชาชีพพยาบาล จากการตรวจสุขภาพโดยคณะกรรมการแพทย์ที่กองทัพอากาศแต่งตั้ง
3.1.7 ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
3.1.8 ไม่อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.1.9 ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือพักงาน และไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการหรือหน่วยงานใดๆเนื่องจากทุจริตหรือประพฤติเสื่อมเสีย
3.1.10 ไม่เป็นผู้ถูกปลดจากการเป็นนักเรียนพยาบาลทหารอากาศเนื่องจากความประพฤติ
3.1.11 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฏหมาย
3.2 วิธีการคัดเลือก
3.2.1 คัดเลือกภาควิชาการโดยพิจารณาผลการสอบ วิชาหลัก 7 วิชา (รหัส 01 - 07) จากการสอบวัดความรู้ของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX และ PR) ตามระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
3.2.2 พิจารณาจากผลการสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย การทดสอบพิเศษเพื่อดูความพร้อมของคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ และความถนัดทางวิชาการ
3.3 จำนวนนักเรียนที่รับในปีการศึกษา 2546 จำนวนนักเรียนที่รับจากการสอบคัดเลือกประมาณ 55 คน แยกตามประเภททุนดังนี้
3.3.1 ทุนกองทัพอากาศ จำนวน 24 คน
3.3.2 ทุนส่วนตัว จำนวน 31 คน

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

ด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐที่เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างคน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการสร้างชาติให้มั่นคงได้อย่างยั่งยืน เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างชาติ ปรับโครงสร้างและระบบการศึกษา ยึดหลักการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาคและความเสมอภาค ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างคน บูรณาการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการปฏิรูปการเรียนรู้ และเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างงาน สร้างเยาวชนให้มีความรู้คู่กับการทำงาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยอำนาจตามความในบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยยึดหลักความมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ กล่าวคือ เป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีโครงสร้างหลักยืดหยุ่น กำหนดจุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวม ๑๒ ปี สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น เป็นช่วงชั้นละ ๓ ปี จัดเฉพาะส่วนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพขีวิตความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานสถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดเป็นรายปี หรือรายภาคให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณสมบัติอันพึงประสงค์ เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ รวมถึงจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละกลุ่มเป้าหมายด้วย
การจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ให้ความสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ GAT-PAT 2552 คลอดแล้ว!!

ข้อสอบ GAT-PAT 2552 คลอดแล้ว!!
-->
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ประจำปีการศึกษา 2551 ที่จะมีการสอบ นักเรียน ชั้น ป.6 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ชั้น ม.3 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 และ ชั้น ม.6 วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า ขณะนี้ สทศ.ออกข้อสอบ O-NET ของชั้น ป.6 และ ม.3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงของชั้น ม.6 ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มพิมพ์ข้อสอบ ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้นักเรียนชั้น ม.6 เข้ามาตรวจสอบเลขที่นั่งสอบ สถานที่สอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบได้ที่
http://www.niets.or.th เพื่อเก็บเป็นหลักฐานในการเข้าห้องสอบ และใช้สำหรับตรวจผลคะแนนต่อไป “ขอเตือนไปยังโรงเรียนทุกแห่งว่า ควรที่จะนำผลการสอบ O-NET ของเด็กในแต่ละระดับชั้นมาใส่ไว้ในใบระเบียนแสดงผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.1) เพื่อที่เด็กจะได้รู้ว่าตนเองมีความรู้อยู่ในระดับใด และคะแนนนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนแต่ละแห่งจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไรด้วย ทั้งนี้ สทศ.กำลังทำการจัดอันดับโรงเรียนต่าง ๆ อยู่ โดยนำกลุ่มโรงเรียนที่มีลักษณะเดียวกัน และดูผลประเมินสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่อยู่ในใกล้เคียงกันมาจัดอันดับ เพื่อทำให้เกิดความยุติธรรมด้วย” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าว ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเตรียมการจัดทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT ที่จะใช้ประกอบการพิจารณาการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่นประจำปีการศึกษา 2553 นั้น ขณะนี้ สทศ.ได้ออกข้อสอบและพิมพ์ต้นฉบับข้อสอบ GAT และ PAT ที่จะใช้สอบครั้งแรกในเดือนมีนาคมเสร็จแล้ว.

ข่าวการศึกษา(นักเรียนหญิงหนีเรียนมากกว่าเด็กผู้ชาย)

นักเรียนหญิงเกเรหนักหนีเรียนมากกว่าผู้ชาย
นายสุรเทพ ตั๊นประเสริฐ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารหน่วยงานฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ได้รายงานผลการจัดบุคลากรออกไปปฏิบัติหน้าที่สายตรวจร่วมกับศูนย์เสมารักษ์ และเฝ้าระวังความประพฤตินักเรียน ระหว่างเวลา 16.30-20.30 น. ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.-16 ม.ค. 2552 จำนวน 39 ครั้ง รวมทั้งออกตรวจในพื้นที่เสี่ยง พบนักเรียนหนีเรียน หรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียนทั้งสิ้น 338 คน เป็นชาย 145 คน และหญิง 193 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทั้งการอบรมว่ากล่าวตักเตือน ให้ไปรายงานตัวที่สถานศึกษา นำส่งสถานศึกษา และแจ้งให้ผู้ปกครองมารับตัว ซึ่งตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังพฤติ กรรมของนักเรียน นักศึกษา ให้มากยิ่งขึ้นรวมทั้งประสานหาเครือข่ายติดตามเฝ้าระวังให้กว้างขวางขึ้นด้วย.